วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หลักสูตรเเกนกลาง2551

หลักสูตรเเกนกลาง2551
คำสั่ง เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และเอกสารแนบท้ายคำสั่ง (24 ส.ค. 60)
1.คำสั่ง เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2.มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
3.ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4.ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
5.ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
6.ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 อ่านเพิ่มเติม


การเรียนรู้ในศตวรรษที่21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่21
     ปัจจุบันโลกแห่งการศึกษาได้ก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบการเรียนรู้ก็ต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยเด็กนักเรียนจะมีการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย มองเห็นปัญหาเป็นโจทย์ให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ไข ซึ่งทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 คือ 3R8C โดยมีรายละเอียดดังนี้
อย่างแรกคือ 3R คือทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อผู้เรียนทุกคน มีดังนี้
1. Reading คือ สามารถอ่านออก
2. (W)Riteing คือ สามารถเขียนได้
3. (A)Rithmatic คือ มีทักษะในการคำนวณ
และอีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้ 3R คือ 8C ซึ่งเป็นทักษะต่างๆที่จำเป็นเช่นกัน ซึ่งทุกทักษะสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกวิชา มีดังนี้
1. Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้
2. Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม
3. Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
4. Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ
5. Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ
6. Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
7. Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้
8. Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย      อ่านเพิ่มเติม

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

พรบ.คอมพิวเตอร์


พรบ.คอมพิวเตอร์

เมื่อเดือนมกราคม 2560 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นฉบับที่ 2 ของ พ.ร.บ. นี้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระบุเจตนารมณ์ของการแก้ไขส่วนหนึ่งว่า เดิม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยเฉพาะมาตรา 14 (1) มักถูกพ่วงไปฟ้องกับการกระทำผิดใด ๆ ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งที่มาตรานี้กำหนดให้ใช้กับการกระทำผิดในเรื่องฉ้อโกง หรือหลอกลวงกันทางออนไลน์ เพราะเดิมกฎหมายฉบับนี้ถูกนำมาใช้ตั้งข้อหากับคนที่โพสต์ด่าทอกันทางออนไลน์ รวมถึงดำเนินคดีต่อผู้แสดงความเห็นทางการเมือง เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน องค์กรภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ในลักษณะที่เรียกว่า ‘ฟ้องปิดปาก’ หรือ SLAPPs อ่านเพิ่มเติม

ประวัติ

ประวัติส่วนตัว

 

ชื่อ นิธินันท์ นิมิตธรรมรัตน์
ชื่อเล่น บีม
เกิดวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2545
อายุ 15 ปี
ที่อยู่ 1247/105 ซ.สุขภูติ2 ถ.ไชยพร ต.เเม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000
น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 164 เซนติเมตร
อาหารที่ชอบ สปาเก็ตตี้
สีที่ชอบ สีดำ
กีฬาที่ชอบ เเบตมินตัน
งานอดิเรก ฟังเพลง
เพลงที่ชอบ So far away
ภาพยนต์ The maze runner
ประวัติการศึกษา อ.1-ป.6 โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม
                           ม.1-ม.3  โรงเรียนถาวรานุกูล
การศึกษาปัจจุบัน ม.4/6 ศิลป์อังกฤษ-จีน
ที่เลือกเรียนห้องนี้ เพราะชอบเรียนภาษา
มหาวิทยาลัยที่อยากเข้า มหาวิทยาลัยเเม่ฟ้าหลวง 
อาชีพที่ฝันอยากจะเป็น เชฟ



วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

วิทยาการการคำนวณ

                                       วิทยาการคำนวณ
    วิชาวิทยาการคำนวณ(Computing science)เป็นวิชาที่มาเเทนวิชาคอมพิวเตอร์หรือวิชาทางด้านเทคโนโลยีที่สอนในปัจจุบัน จะย้ายจากวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระการงานอาชีพเเละเทคโนโลยี มาอยู่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยวิทยาการคำนวณเป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการพัฒนาเเอพพลิเคชั่นต่างๆสำหรับคอมพิวเตอร์ เป็นกระบวนการความคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้เเก้ปัญหาของมนุษย์  มีการกำหนดขอบเขตการเรียนการสอนของวิชาการคำนวณเอาไว้ 3 องค์ความรู้ ได้เเก่
   1.การคิดเชิงคำนวณ(computational thinking) เป็นวิธีการเเละเเก้ปัญหาเชิงวิเคระห์สามารถจินตนาการมองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม
   2.พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล(digital technology) สอนให้รู้จักเทคนิควิธีการต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล
   3.พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อเเละข่าวสาร(media and information literacy) เเยกเเยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์